นักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมไทยร่วมรณรงค์เพื่อยุติอุตสาหกรรมการประมง
นักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ นันทิชา “หลิง” โอเจริญชัย ผู้ก่อตั้ง Climate Strike Thailand และน้องลิลลี่ หรือ ด.ญ. ระริน สถิตธนาสาร ผู้ก่อตั้ง @byebyeplasticbagsthailand ได้เข้าร่วมการรณรงค์ระดับโลกเพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการประมง โดยได้โพสต์รูปภาพของตน ถือป้ายที่มีข้อความที่บอกว่าปลาก็มีชีวิตจิตใจ และข้อความเกี่ยวกับผลกระทบของการประมงต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังได้แชร์วีดิโอที่ทำมาเฉพาะกิจเพื่อการรณรงค์ในครั้งนี้
การณรงค์นี้ยังเกิดขึ้นในอินโดนีเซีย บราซิล อาร์เจนตินา ชิลี เปรู และโคลอมเบียอีกด้วย โดยเกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างซิเนอร์เจีย แอนิมอล องค์กรระดับสากลและการเคลื่อนไหวระดับโลกชื่อว่า “World Day for The End of Fishing- WoDEF” การเคลื่อนไหวนี้เริ่มเมื่อปี 2017 โดย Pour l'Égalité Animale (PEA) องค์กรพิทักษ์สัตว์จากสวิตเซอร์แลนด์ ในตอนนี้ องค์กรต่างๆ ทั่วโลกต่างก็เข้าร่วมเคลื่อนไหวกับ World Day for The End of Fishing เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับสัตว์น้ำแก่สาธารณชนและองค์กรพิทักษ์สัตว์อื่นๆ การเคลื่อนไหวนี้เรียกร้องให้ยุติการประมงอุตสาหกรรม และอุตสาหกรรมการเลี้ยงปลา และเกิดขึ้นใน 20 ประเทศทั่วโลก ผู้เข้าร่วมการรณรงค์จากทั่วโลกก็เริ่มแชร์ช้อความและภาพบนโซเชียลมีเดียพร้อมแฮชแท็ก #WorldDayFortheEndofFishing และ #EndFishing เพื่อสร้างความตระหนักรู้ไปทั่วโลก
หลิง นันทิชา ผู้ก่อตั้ง Climate Strike Thailand และนักเคลื่อนไหวเพื่อสิ่งแวดล้อมชื่อดังกล่าวว่า “ข้อมูลและภาพจากวิดีโอน่ากลัวมากค่ะ อยากขอให้ทุกคนมาคิดถึงอนาคตของโลกใบนี้ มาช่วยกันแชร์วีดีโอนี้ และเลิกกินปลาและสัตว์อื่นๆ ที่อยู่ในหมวด “อาหารทะเล”
ลิลลี่ ระริน นักรณรงค์รุ่นเยาว์ กล่าวว่า “อุตสาหกรรมการประมงก่อให้เกิดปัญหามากกมาย มันเป็นอุตสาหกรรมที่ไม่ยั่งยืน เพราะสัตว์น้ำจำนวนมากต้องถูกฆ่า เนื่องจากการบริโภคมากเกินจำเป็น” หนูเลยตัดสินใจเข้าร่วมการรณรงค์นี้ด้วย เพื่อสร้างความตระหนักรู้แก่ผู้คนเกียวกับผลกระทบนี้
ปัญหาของการประมง
การประมงก่อปัญหาต่อสัตว์น้ำและสิ่งแวดล้อมอย่างมาก การประมงเกินขนาดรุนแรงถึงขนาดป็นภัยคุกคามต่อชีวิตใต้ท้องทะเล คร่าชีวิตสัตว์น้ำพลอยได้นับล้านๆ ชีวิต และการประมงนี่เองที่เป็นตัวการหลักของปัญหามลพิษพลาสติกในทะเล
ข้อมูลจากองค์การสหประชาชาติระบุว่า ระบบนิเวศใต้ทะเลอยู่ในสภาวะสั่นคลอน เนื่องจากการประมงเกินขนาดและการประมงผิดกฎหมาย สองในสามของปริมาณสัตว์น้ำคงเหลือ (หรือคิดเป็น 64%) ถูกจับเกินขนาด และอีก 23% ที่เหลือถูกจับจนเต็มศักยภาพ ซึ่งหมายความว่าการประมงเอาปลาไปจากท้องทะเลเร็วเกินไป เกินกว่าที่ท้องทะเลจะฟื้นฟูได้ทัน
จำนวนสัตว์น้ำพลอยได้ก็น่ากังวลไม่แพ้กัน ในแต่ละปี วาฬ โลมา แมวน้ำ และเต่าทะเลกว่า 100,000 ชีวิต และสัตว์น้ำชนิดอื่นๆ เข้าไปติดในแหเก่า กรงดักจับสัตว์น้ำเก่าที่ถูกทิ้งไว้ในทะเล หรือไม่ก็ติดแหมากับสัตว์น้ำสายพันธุ์อื่นๆ ที่เป็น “สัตว์เศรษฐกิจ”
นอกจากนี้มลพิษจากการประมงก็ยังเป็นปัญหาใหญ่ การสำรวจแพขยะใหญ่แห่งมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งเป็นมวลขยะบนผิวน้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลก พบว่า 46 % ของขยะที่พบเป็นแหจับปลา และขยะอื่นๆ ที่พบก็เป็นขยะที่เกียวข้องกับการประทงเป็นส่วนใหญ่
มีการประมาณการว่า แหจับปลากว่า 600,000 – 800,000 ตันจะถูกทิ้งลงทะเลในแต่ละปี และอาจใช้เวลามากกว่า 600 ปีกว่าแหพลาสติกเหล่านี้จะย่อยสลาย
ปลาก็เจ็บเป็น
นอกจากผลกระทบอันหนักหน่วงจากอุตสาหกรรมประมงแล้ว ก็มีเรื่องอื่นที่เราต้องพิจารณาด้วย ซึ่งก็คือความจริงที่ว่าปลาก็เป็นสัตว์ที่มีความรู้สึกและเจ็บปวดได้ งานวิจัยใหม่ๆ หลายฉบับระบุว่าปลามีอารมณ์ ความรู้สึก และรับรู้ความเจ็บปวดได้ นอกจากนี้ยังรู้จักใช้อุปกรณ์ ห่วงใยลูกๆ และมีความจำดี
ในแต่ละปี ปลากว่าล้านๆ ชีวิตถูกดึงขึ้นมาจากน้ำ และถูกฆ่าด้วยวิธีที่โหดร้ายทารุณเกิดว่าเราจะนึกภาพออก เมื่อเทียบกับการฆ่าสัตว์บกชนิดอื่นๆ เพื่อมาเป็นอาหารของมนุษย์ พวกเขามักถูกทิ้งให้ขาดอากาศหายใจตายอย่างช้าๆ เนื่องจากว่าหายใจบนบกไม่ได้ หลายครั้งถูกถลกหนังทั้งเป็น หรือถูกผ่าทั้งๆ ที่ยังมีชีวิตอยู่
ท้องทะเลของเราได้รับผลกระทบอย่างมากจากอุตสาหกรรมการประมง
ยังไม่พูดถึงปลาอีกนับล้านๆ ชีวิต ซึ่งล้วนแล้วแต่มีชีวิตจิตใจ สิ่งที่เราทำได้สำหรับทั้งท้องทะเลและปลาแต่ละชีวิตคือการเลิกกินปลา อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกียวกับการการรณรงค์ได้ที่นี่ และคลิกที่นี่เพื่อเรียนรู้วิธีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภค