top of page

องค์กรพัฒนาเอกชนระดับโลก ยื่นคำร้องขอให้ธนาคารหยุดการระดมทุนเพื่ออุตสาหกรรมปศุสัตว์



ประชาชนกว่า 10,000 คนทั่วโลกได้ร่วมลงนามในคำร้องออนไลน์ (change.org/PandemicBanks) นำโดยองค์กรพัฒนาเอกชน ซิเนอร์เจีย แอนิมอล และ Global Forest Coalition สมาพันธ์ระหว่างประเทศ เพื่อปกป้องสิทธิและรักษาความยุติธรรมทางสังคมของชนพื้นเมืองในนโยบายป่าไม้ เพื่อยื่นข้อเสนอแนะเรียกร้องให้สถาบันการเงินระหว่างประเทศรายใหญ่ หยุดการสนับสนุนอุตสาหกรรมปศุสัตว์ ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนโรคระบาดสายพันธุ์ใหม่ การตัดไม้ทำลายป่า และภาวะโลกร้อน องค์กรพัฒนาเอกชนเปิดเผยว่าคำเรียกร้องในครั้งนี้ มุ่งเป้าไปที่ธนาคารโลกและธนาคารเพื่อการบูรณะและพัฒนาแห่งยุโรป หลังรายงานล่าสุดจากองค์การสหประชาชาติเน้นย้ำถึงความอันตรายของปศุสัตว์เชิงอุตสาหกรรมซึ่งแออัดหนาแน่นเช่นนี้



ภาพโดย Andrew Skowron

วิชญะภัทร์ ภิรมย์ศานต์ ผู้จัดการฝ่ายแคมเปญ ซิเนอร์เจีย แอนิมอล ในประเทศไทย หนึ่งในองค์กรพัฒนาเอกชนที่เป็นแกนนำในการรณรงค์ครั้งนี้ กล่าวว่า “ธนาคารเพื่อการพัฒนา ควรมุ่งเน้นสนับสนุนมนุษยชาติ เพื่อการสร้างโลกที่ยั่งยืนและปลอดภัยยิ่งขึ้น แต่ในทางกลับกัน พวกเขากลับทำในสิ่งที่ตรงกันข้าม โดยการให้ทุนสนับสนุนปศุสัตว์เชิงอุตสาหกรรมในรูปแบบที่เลวร้ายที่สุด อุตสาหกรรมเชิงปศุสัตว์ได้รับการสนับสนุนในรูปแบบของเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลทั่วโลก ซึ่งมาจากภาษีของประชาชน ทั้งนี้ เราจึงออกมายื่นคำร้อง เพื่อรณรงค์ให้เหล่าธนาคารเพื่อการพัฒนา เปลี่ยนแปลง เพื่อสร้างอนาคตที่ปลอดภัยยิ่งขึ้นสำหรับทุกคน"

จากการสืบสวนของ The Bureau of Investigative Journalism สำนักข่าวสืบสวนสอบสวนที่ไม่แสวงหาผลกำไร และหนังสือพิมพ์ เดอะการ์เดียน พบว่า บริษัทเงินทุนระหว่างประเทศของธนาคารโลกและธนาคารเพื่อการบูรณะและพัฒนาแห่งยุโรป ได้ปล่อยเงินกู้กว่า 2.6 พันล้านดอลลาร์ ในการเลี้ยงสุกร สัตว์ปีก และเนื้อวัว รวมถึงอุตสาหกรรมแปรรูปนมและเนื้อสัตว์ตลอดกว่า 10 ปีที่ผ่านมา

“การปล่อยเงินกู้หลายพันล้านให้แก่กิจการปศุสัตว์เหล่านี้ เป็นอันตรายต่ออนาคตของเรา โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) ได้เตือนแล้วว่า สัตว์ในอุตสาหกรรมปศุสัตว์สมัยใหม่ มีชีวิตอยู่ในสภาพที่ ‘ไม่พึงประสงค์’ ซึ่งอาจส่งผลต่อการแพร่กระจายของโรคใหม่ ๆ ได้ เช่นเดียวกับโรคโควิด-19” วิชญะภัทร์ กล่าว

นักรณรงค์ยังเตือนอีกว่าสิ่งแวดล้อมก็ได้ผลกระทบเช่นกัน “ผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่า อุตสาหกรรมปศุสัตว์ปล่อยก๊าซเรือนกระจกคิดเป็นสัดส่วนเกือบครึ่งของก๊าซเรือนกระจกทั้งโลกภายในปี 2573 และกว่า 80% ภายในปี 2593 หากไม่มีการดำเนินการแก้ไขอย่างเร่งด่วน อุตสาหกรรมปศุสัตว์จะยังคงขับเคลื่อนการทำลายสภาพภูมิอากาศ ซึ่งนำไปสู่ภาวะโลกร้อน ความแห้งแล้ง รวมถึงอุทกภัยและความยากจน ในลำดับต่อมา” วิชญะภัทร์ กล่าวเสริม 


ฟาร์มอุตสาหกรรมปศุสัตว์มักอยู่ในสภาพที่ไม่พึงประสงค์ สัตว์สายพันธุ์เดียวกันจำนวนมากอยู่กันอย่างแออัด ส่งผลให้เกิดภาวะไร้ความต้านทานการแพร่กระจายของโรค ทั้งยังเสี่ยงต่อสุขภาพของคน การศึกษาจากองค์การอนามัยโลกเผยฟาร์มอุตสาหกรรมปศุสัตว์ใช้ยาจำนวนมาก ในบางประเทศกว่า 80% ของยาปฏิชีวินะที่ใช้ทั้งประเทศถูกใช้ฟาร์มอุตสาหกรรมปศุสัตว์ หลักฐานเหล่านี้ชี้ว่าอุตสาหกรรมปศุสัตว์เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะดื้อยาที่คร่าชีวิตคนกว่า 700,000 คนในแต่ละปี นอกจากนี้ภาวะดื้อยายังพัฒนาเป็นโรคที่ร้ายแรงและซับซ้อนกว่าเดิมได้


นักรณรงค์ยังเตือนอีกว่าสิ่งแวดล้อมก็ได้ผลกระทบเช่นกัน “ผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่า อุตสาหกรรมปศุสัตว์ปล่อยก๊าซเรือนกระจกคิดเป็นสัดส่วนเกือบครึ่งของก๊าซเรือนกระจกทั้งโลกภายในปี 2573 และกว่า 80% ภายในปี 2593 หากไม่มีการดำเนินการแก้ไขอย่างเร่งด่วน อุตสาหกรรมปศุสัตว์จะยังคงขับเคลื่อนการทำลายสภาพภูมิอากาศ ซึ่งนำไปสู่ภาวะโลกร้อน ความแห้งแล้ง รวมถึงอุทกภัยและความยากจน ในลำดับต่อมา” วิชญะภัทร์ กล่าวเสริม

ผลการวิจัยขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (NASA) พบว่า อุตสาหกรรมปศุสัตว์เป็นสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดการตัดไม้ทำลายป่าในเขตร้อน เพื่อเปลี่ยนไปใช้เป็นที่นา สำหรับการเพาะปลูกอาหารสัตว์ เช่น ถั่วเหลืองและข้าวโพด ในขณะเดียวกัน สหประชาชาติระบุว่า 75% ของเชื้อโรคที่เกิดใหม่ในมนุษย์ เกิดการกลายพันธ์จากสัตว์ ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การตัดไม้ทำลายป่า และการบุกรุกที่อยู่อาศัย ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายของโรคมากขึ้น เนื่องจากมนุษย์และฟาร์ม มีความใกล้ชิดกับสัตว์ป่าและไวรัสมากขึ้น

“ธนาคารเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศควรให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สัตว์ และผู้คน” วิชญะภัทร์ กล่าว "คุณสามารถร่วมลงนามในข้อเรียกร้องของเรา ใช้เวลาเพียงไม่ถึงห้านาที ที่ change.org/PandemicBanks โดยทุกลายเซ็นมีค่า"

Comments


bottom of page