ระบบไร้กรง (Cage-Free)
เราช่วยคุณได้
ซิเนอร์เจีย แอนิมอลยินดีช่วยผู้ประกอบการไข่ไก่ให้เปลี่ยนไปใช้ระบบไร้กรงได้อย่างราบรื่น และช่วยหาผู้ซื้อไข่ไก่ไร้กรงขัง
มีผู้บริษัทผู้ผลิตอาหารบางรายต้องการซื้อไข่ไก่จากระบบไร้กรงขังแล้ว
และหลังจากนี้ความต้องการของตลาดก็จะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ
บริษัทข้ามชาติรายใหญ่หลายรายได้ประกาศนโยบายแล้วว่าจะค่อยๆ เปลี่ยนมาใช้ไข่ไก่จากระบบไร้กรงขังทั่วโลก
นโยบายเหล่านี้มีผลบังคับใช้ในประเทศไทยด้วย
อ่านข้อมูลเกี่ยวกับกับบริษัทเหล่านี้และนโยบายได้ด้านล่าง
ระบบไร้กรงเป็นอย่างไร?
ระบบไร้กรง
(cage-free)
ในระบบไร้กรง แม่ไก่อยู่ในโรงเลี้ยงแบบปิด หมายความว่าพวกเขาจะไม่มีโอกาสได้ออกไปสัมผัสพื้นดิน
และแสงสว่าง
แต่ระบบเช่นนี้ก็ดีต่อสวัสดิภาพของพวกเขากว่าระบบกรงมาก ในโรงเลี้ยงพวกเขามีที่ทางให้เดินไปมา และมีพื้นที่ให้วางไข่ มีฟางและทรายให้คุ้ยเขี่ยหรือจิกหาอาหาร มีคอนให้เกาะเล่น
หากเป็นระบบไร้กรงที่ได้รับการรับสวัสดิภาพสัตว์ จะใช้อาหารจากพืชเท่านั้นเลี้ยงไก่ และไม่อนุญาตให้ใช้ยาปฏิชีวนะอย่างต่อเนื่อง
ระบบเลี้ยงแบบปล่อย
หรืออินทรีย์
(Free-range/Organic)
ระบบเลี้ยงแบบปล่อยหรืออินทรีย์ แม่ไก่มีพื้นที่มากขึ้น และมีโอกาสทำพฤติกรรมตามธรรมชาติ
นอกจากนี้ยังมีโอกาสได้สัมผัสแสงแดดและพื้นดินกลางแจ้ง ได้คุ้ยเขี่ยหาอาหารและแมลงตามพื้นดิน
ในระบบเช่นนี้ อาหารเลี้ยงแม่ไก่จะเป็นอาหารจากพืชเท่านั้น และจะต้องเป็นพืชที่ไม่ใช้สารเคมีหรือยาฆ่าแมลง อีกทั้งยังห้ามให้ยาปฎิชีวนะอย่างต่อเนื่อง
เริ่มลงทุนในระบบไร้กรงได้อย่างไร
ซิเนอร์เจีย แอนิมอลแนะนำให้ผู้ผลิตไข่ไก่ใช้ระบบที่ได้รับการรับรองจาก ‘Certified Humane’ ซึ่งเป็นองค์กรรับรองสวัสดิภาพสัตว์ และเริ่มดำเนินงานในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว
การเลี้ยงไก่ในระบบไร้กรงมีหลายมาตรฐานที่ต้องปฏิบัติตามเพื่อให้ไก่มีสวัสดิภาพที่ดี เช่น:
-
จำนวนไก่ต่อพื้นที่
-
จำนวนรังและคอนที่เพียงพอ
-
พื้นที่สำหรับจิกและคุ้ยเขี่ยเพียงพอ
-
เล็มปากไก่แทนที่จะตัดปาก
-
เลี้ยงไก่ในโรงเรือนที่มีสภาพดี
-
มีอุปกรณ์ให้น้ำเพียงพอ
-
มีแสงสว่างส่องถึง
-
อากาศถ่ายเทได้ดี
-
ไม่นำซากจากสัตว์ชนิดอื่นมาเป็นอาหารไก่
-
ไม่ฉีดยาเร่งโต
-
ใช้ยาปฏิชีวนะเมื่อสัตว์มีอาการป่วยเท่านั้น
หากทำตามมาตรฐานเหล่านี้ได้ ฟาร์มของคุณก็พร้อมที่จะได้รับการรับรองมาตรฐานสวัสดิภาพสัตว์ และเป็นผู้ผลิตไข่ไก่ที่น่าเชื่อถือสำหรับธุรกิจขนาดใหญ่ซึ่งกำลังปรับใช้นโยบายไข่ไก่ไร้กรง
สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับมาตรฐานสวัสดิภาพสัตว์โดยละเอียด คลิกที่รูปด้านล่าง
ความปลอดภัยทางอาหาร
ไข่มักปนเปื้อนเชื้อ Salmonella เชื้อแบคทีเรียที่ทำให้ผู้คนหลายพันคนทั่วโลกเกิดอาการป่วยทุกปี
แบคทีเรียชนิดนี้อาจทำให้ถึงแก่ความตายได้
งานวิจัยฉบับสำคัญที่สุดเท่าที่เคยมีมาโดยหน่วยงานเพื่อความปลอดภัยด้านอาหารแห่งสหภาพยุโรป (The European Food Safety Authority) ศึกษาการปนเปื้อนของ Salmonella ในระบบกรงเปรียบเทียบกับระบบไร้กรง พบว่า
การปนเปื้อน Salmonella Enteritidis ในโรงเลี้ยงแบบไร้กรงต่ำกว่าในระบบกรงถึงร้อยละ 43 ส่วนในระบบการเลี้ยงแบบอินทรีย์ โอกาสการปนเปื้อนต่ำลงถึงร้อยละ 95 และในระบบการเลี้ยงแบบปล่อยหรือ Free-range โอกาสการปนเปื้อนน้อยกว่าถึงร้อยละ 98
สำหรับ Salmonella Typhimurium ในระบบเลี้ยงบบไร้กรง มีโอกาสปนเปื้อนน้อยกว่าระบบกรงร้อยละ 77 และน้อยกว่าถึงร้อยละ 93 ในระบบการเลี้ยงแบบปล่อยหรือแบบอินทรีย์
ส่วน Salmonella สายพันธุ์อื่นๆ ในระบบเลี้ยงแบบไร้กรงมีโอกาสปนเปื้อนต่ำกว่าร้อยละ 96
ต่ำกว่าร้อยละ 98 ในไก่ที่เลี้ยงแบบอินทรีย์ และต่ำกว่าร้อยละ 99 ในไก่ที่เลี้ยงแบบปล่อย
หมายความว่าระบบกรงมีโอกาสเกินการปนเปื้อนสูงกว่าระบบไร้กรงถึง 25 เท่า
หน่วยงานเพื่อความปลอดภัยด้านอาหารแห่งสหภาพยุโรปสรุปว่า “ไข่จากระบบกรงมีโอกาสปนเปื้อนเชื้อ Salmonella มากกว่า”
อีกประเด็นที่สำคัญก็คือการใช้ยาปฏิชีวนะ ในระบบการเลี้ยงที่แออัดมากๆ หรือที่เรียกว่า Factory farming การให้ยาปฏิชีวนะแก่สัตว์แม้จะไม่มีอาการป่วยทำกันจนเป็นเรื่องปกติ ขณะนี้มีงานวิจัยที่พิสูจน์แล้วว่าแนวปฏิบัติที่ไร้ความรับผิดชอบเช่นนี้ทำให้เชื้อโรคดื้อยาเพิ่มสายพันธุ์ขึ้นอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน
องค์การอนามัยโลก (World Health Organization) ได้เตือนแล้วว่าหากเรายังไม่หยุดใช้ยาปฎิชีวนะอย่างไร้ความรับผิดชอบทั้งในสัตว์และในมนุษย์ อีกไม่นานเราจะเผชิญยุคหายนะซึ่งโรคทั้งหลายที่เคยรักษาได้กลับมาคร่าชีวิตผู้คนอีกครั้ง
ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ฟาร์มไข่ที่ใช้ระบบที่เป็นธรรมชาติมากกว่า เช่นระบบไร้กรง ระบบปล่อย หรือระบบอินทรีย์ มักจะใช้อาหารที่มาจากพืชเลี้ยงไก่ แต่ใน ฟาร์มแบบอุตสาหกรรมมักจะใช้อาหารสัตว์ทั่วๆ ไป เช่นปลาป่น
งานวิจัยชี้ว่าฟาร์มผลิตไข่ไก่ช่วยผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ เพียงเปลี่ยนอาหารเลี้ยงไก่ให้เป็นอาหารจากพืช งานวิจัยฉบับหนึ่งจากมหาวิทยาลัยบริติช โคลัมเบียระบุว่า ถ้าไก่ไข่ได้กินแต่อาหารอินทรีย์ที่มาจากพืชเท่านั้น ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากฟาร์มไข่ไก่จะลดลงกว่าร้อยละ 50
การนำปลาป่นมาใช้เป็นอาหารไก่ก็เป็นเประเด็นที่สมควรพิจารณา ข้อมูลจากสหประชาชาติระบุว่า ปลาในแหล่งน้ำธรรมชาติถูกจับกว่า 15 ล้านตันเพื่อนำมาทำเป็นปลาป่น ซึ่งจำนวนมานำมาทำเป็นอาหารเลี้ยงไก่
ข้อมูลจากสหประชาชาติยังระบุอีกว่า สายพันธุ์ปลากว่าร้อย 70 ในโลกนี้ถูกจับ”เกินกำลัง” หรือถูกจับจน”เต็มกำลัง” หรือไม่ก็ “จำนวนลดลงอย่างมาก”
สัตว์น้ำบางสายพันธุ์ก็ได้สูญพันธุ์ไปแล้ว และอีกมากมายหลายสายพันธุ์ก็กำลังเผชิญชะตากรรมเดียวกัน
มหาสมุทรของเราในขณะนี้ และภัยคุกคามจากสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงเป็นประเด็นที่เราละเลยไม่ได้ ถึงเวลาแล้วที่เราจะใช้ระบบที่ยั่งยืนมากกว่านี้ และใช้อาหารสัตว์ที่ทำจากพืชเท่านั้น
เราช่วยเหลือ
โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
ซิเนอร์เจีย แอนิมอลเป็นองค์กรเอกชนไม่แสวงผลกำไร เราไม่คิดค่าใช้จ่าย
ถ้าคุณเป็นผู้ผลิตไข่ไก่ที่ใช้ระบบไร้กรงขังและต้องการความช่วยเหลือเรื่องการประชาสัมพันธ์หรือปัญหาอื่นๆ เกี่ยวกับการผลิต
กรุณาติดต่อเรา เรายินดีให้ความช่วยเหลือทุกทาง
หากคุณเป็นผู้ผลิตไข่ไก่ที่ยังใช้ระบบกรง และอยากเปลี่ยนไปใช้ระบบไร้กรง เราก็ยินดีให้ความช่วยเหลือเช่นกัน
ติดต่อเราได้ที่ info@sinergiaanimal.org