สวัสดิภาพสัตว์ในห่วงโซ่อุปทาน
เราช่วยคุณได้
ซิเนอร์เจีย แอนิมอลยินดีช่วยบริษัทร่างนโยบายและแผนระยะยาว เพื่อการปรับปรุงสวัสดิภาพสัตว์ในห่วงโซ่อุปทาน
ขณะนี้เรามุ่งปรับปรุงสวัสดิภาพแม่ไก่ในอุตสาหกรรมไข่ เนื่องจากสัตว์ในอุตสาหกรรมนี้ต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนที่สุด
บริษัทนานาชาติหลายแห่งได้ประกาศนโยบายเปลี่ยนมาใช้ไข่ไก่จากระบบไร้กรงแล้ว (cage-free eggs)
อ่านข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทเหล่านี้และนโยบายได้ด้านล่าง
1 บาท
1 บาท
(Action tally) people have said NO to cages.
ร่างนโยบาย
หากบริษัทอยากเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาสวัสดิภาพสัตว์ในประเทศไทย องค์กรเราพร้อมให้ความช่วยเหลือทุกด้าน
ซิเนอร์เจีย แอนิมอลช่วยร่างนโยบายเพื่อสวัสดิภาพสัตว์ที่ชัดเจนและโปร่งใสได้ ทั้งนี้เพื่อให้บริษัทได้รับความไว้วางใจจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น ผู้ลงทุน คู่ค้า ผู้บริโภค และฝ่ายอื่นๆ
เรายังให้ความช่วยเหลือด้านการสื่อสารการตลาดและช่วยประชาสัมพันธ์นโยบายนี้ในสื่อกระแสหลัก
และผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียของเรา
จัดการห่วงโซ่อุปทาน
เราสามารถไปชมฟาร์มผู้จัดจำหน่ายไข่ไก่ให้บริษัทของคุณ และให้ข้อมูลแก่ผู้ผลิตไข่ไก่ว่าทำไมสวัสดิภาพสัตว์จึงเป็นเรื่องสำคัญ รวมทั้งให้คำแนะนำเกี่ยวกับขั้นตอนการเปลี่ยนระบบไปสู่ระบบไร้กรงขัง ซึ่งเป็นระบบที่ดีกว่าต่อสวัสดิภาพของสัตว์
นอกจากนี้ เรายังยินดีจัดการประชุมหรือการพบปะระหว่างผู้ประกอบธุรกิจและผู้เชี่ยวชาญด้านสวัสดิภาพสัตว์เพื่อเสริมสร้างความตระหนักรู้ให้แก่ผู้จัดจำหน่ายไข่ไก่ เรายินดีจัดประชุมให้แก่พนักงานฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายบริหารการพัฒนาอย่างยั่งยืน และฝ่ายกลยุทธ์ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจร่วมกัน และหารือกันเกี่ยวกับประเด็นสำคัญด้านสวัสดิภาพสัตว์
เราทำงานอย่างต่อเนื่องเพื่อหาฟาร์มไข่ไก่ผู้นำตลาดซึ่งลงทุนเพื่อการเปลี่ยนไปสู่ระบบไร้กรง คุณสามารถส่งรายชื่อผู้ค้าไข่ไก่มาให้เราได้เพื่อให้เราดำเนินการเยี่ยมชมฟาร์ม
ไม่มีค่าใช้จ่าย
ซิเนอร์เจีย แอนิมอลเป็นองค์กรพิทักษ์สัตว์ไม่แสวงผลกำไร เราไม่คิดค่าใช้จ่ายๆ ใด
เรายินดีช่วยเหลือในทุกด้านหากบริษัทต้องการใช้นโยบายสวัสดิภาพสัตว์
ติดต่อเราได้ที่ info@sinergiaanimal.org.
หลายเหตุผลที่คุณควรใส่ใจ
แม่ไก่กว่า 56 ล้านตัวในอุตสาหกรรมผลิตไข่ไก่ในประเทศไทยต้องใช้ทั้งชีวิตในกรงลวดเล็กๆ ซึ่งเรียกว่า “กรงตับ” (Battery Cages) ในกรงลักษณะนี้ แม่ไก่ไม่อาจเดินไปมาหรือกางปีกได้อย่างเต็มที่ ต้องใช้ทั้งชีวิตอย่างทุกข์ทรมานและสิ้นหวัง
กรงตับถือเป็นระบบหนึ่งที่โหดร้ายที่สุดในการปศุสัตว์ และเป็นระบบการเลี้ยงสัตว์ที่ผู้เชี่ยวชาญด้านสวัสดิภาพสัตว์ (controversial among animal welfare experts) กรงแต่ละใบบรรจุแม่ไก่ห้าถึงสิบตัว แม่ไก่แต่ละตัวมีพื้นที่เล็กกว่ากระดาษเขียนจดหมาย หลายตัวตายคากรง ส่วนตัวที่ยังอยู่ก็ต้องอยู่ในกรงกับซากศพของเพื่อนๆ ที่ตายไปแล้ว
แม่ไก่เหล่านี้ไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกาย ทำให้กระดูกอ่อนแอ และอาจทำให้เกิดอาการกระดูร้าว หรือเป็นโรคกระดูกพรุนได้
ด้วยความโหดร้ายทารุณอย่างสาหัสนี้เอง สหภาพยุโรป ประเทศภูฏาน นิวซีแลนด์ และหลายๆ รัฐในสหรัฐอเมริกา
ได้สั่งห้ามกรงตับแล้ว ประเทศแคนาดาก็ได้ให้คำมั่นที่จะค่อยๆ เลิกใช้การกักขังสัตว์ในลักษณะนี้
งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์หลายฉบับพิสูจน์แล้วว่า ไก่มีความซับซ้อนด้านการรับรู้ ด้านอารมณ์ความรู้สึก และด้านสังคมไม่ต่างไปจากสัตว์ปีกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นๆ ไก่ก็มีอารมณ์ เช่นความกลัว ความเครียด ความสุข และความเห็นอกเห็นใจได้เช่นเดียวกัน
ทำไมต้องไร้กรง
ระบบไร้กรง
(cage-free)
ในระบบไร้กรง แม่ไก่อยู่ในโรงเลี้ยงแบบปิด หมายความว่าพวกเขาจะไม่มีโอกาสได้ออกไปสัมผัสพื้นดิน
และแสงสว่าง
แต่ระบบเช่นนี้ก็ดีต่อสวัสดิภาพของพวกเขากว่าระบบกรงมาก ในโรงเลี้ยงพวกเขามีที่ทางให้เดินไปมา และมีพื้นที่ให้วางไข่ มีฟางและทรายให้คุ้ยเขี่ยหรือจิกหาอาหาร มีคอนให้เกาะเล่น
หากเป็นระบบไร้กรงที่ได้รับการรับรองสวัสดิภาพสัตว์ จะใช้อาหารจากพืชเท่านั้นเลี้ยงไก่ และไม่อนุญาตให้ใช้ยาปฏิชีวนะอย่างต่อเนื่อง
ระบบเลี้ยงแบบปล่อย
หรืออินทรีย์
(Free-range/Organic)
ระบบเลี้ยงแบบปล่อยหรืออินทรีย์ แม่ไก่มีพื้นที่มากขึ้น และมีโอกาสทำพฤติกรรมตามธรรมชาติ
นอกจากนี้ยังมีโอกาสได้สัมผัสแสงแดดและพื้นดินกลางแจ้ง ได้คุ้ยเขี่ยหาอาหารและแมลงตามพื้นดิน
ในระบบเช่นนี้ อาหารเลี้ยงแม่ไก่จะเป็นอาหารจากพืชเท่านั้น และจะต้องเป็นพืชที่ไม่ใช้สารเคมีหรือยาฆ่าแมลง อีกทั้งยังห้ามให้ยาปฎิชีวนะอย่างต่อเนื่อง
ความปลอดภัยทางอาหาร
ไข่มักปนเปื้อนเชื้อ Salmonella เชื้อแบคทีเรียที่ทำให้ผู้คนหลายพันคนทั่วโลกเกิดอาการป่วยทุกปี
แบคทีเรียชนิดนี้อาจทำให้ถึงแก่ความตายได้
งานวิจัยฉบับสำคัญที่สุดเท่าที่เคยมีมาโดยหน่วยงานเพื่อความปลอดภัยด้านอาหารแห่งสหภาพยุโรป (The European Food Safety Authority) ศึกษาการปนเปื้อนของ Salmonella ในระบบกรงเปรียบเทียบกับระบบไร้กรง พบว่า
การปนเปื้อน Salmonella Enteritidis ในโรงเลี้ยงแบบไร้กรงต่ำกว่าในระบบกรงถึงร้อยละ 43 ส่วนในระบบการเลี้ยงแบบอินทรีย์ โอกาสการปนเปื้อนต่ำลงถึงร้อยละ 95 และในระบบการเลี้ยงแบบปล่อยหรือ Free-range โอกาสการปนเปื้อนน้อยกว่าถึงร้อยละ 98
สำหรับ Salmonella Typhimurium ในระบบเลี้ยงบบไร้กรง มีโอกาสปนเปื้อนน้อยกว่าระบบกรงร้อยละ 77 และน้อยกว่าถึงร้อยละ 93 ในระบบการเลี้ยงแบบปล่อยหรือแบบอินทรีย์
ส่วน Salmonella สายพันธุ์อื่นๆ ในระบบเลี้ยงแบบไร้กรงมีโอกาสปนเปื้อนต่ำกว่าร้อยละ 96
ต่ำกว่าร้อยละ 98 ในไก่ที่เลี้ยงแบบอินทรีย์ และต่ำกว่าร้อยละ 99 ในไก่ที่เลี้ยงแบบปล่อย
หมายความว่าระบบกรงมีโอกาสเกินการปนเปื้อนสูงกว่าระบบไร้กรงถึง 25 เท่า
หน่วยงานเพื่อความปลอดภัยด้านอาหารแห่งสหภาพยุโรปสรุปว่า “ไข่จากระบบกรงมีโอกาสปนเปื้อนเชื้อ Salmonella มากกว่า”
อีกประเด็นที่สำคัญก็คือการใช้ยาปฏิชีวนะ ในระบบการเลี้ยงที่แออัดมากๆ หรือที่เรียกว่า Factory farming การให้ยาปฏิชีวนะแก่สัตว์แม้จะไม่มีอาการป่วยทำกันจนเป็นเรื่องปกติ ขณะนี้มีงานวิจัยที่พิสูจน์แล้วว่าแนวปฏิบัติที่ไร้ความรับผิดชอบเช่นนี้ทำให้เชื้อโรคดื้อยาเพิ่มสายพันธุ์ขึ้นอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน
องค์การอนามัยโลก (World Health Organization) ได้เตือนแล้วว่าหากเรายังไม่หยุดใช้ยาปฎิชีวนะอย่างไร้ความรับผิดชอบทั้งในสัตว์และในมนุษย์ อีกไม่นานเราจะเผชิญยุคหายนะซึ่งโรคทั้งหลายที่เคยรักษาได้กลับมาคร่าชีวิตผู้คนอีกครั้ง
ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ฟาร์มไข่ที่ใช้ระบบที่เป็นธรรมชาติมากกว่า เช่นระบบไร้กรง ระบบปล่อย หรือระบบอินทรีย์ มักจะใช้อาหารที่มาจากพืชเลี้ยงไก่ แต่ใน ฟาร์มแบบอุตสาหกรรมมักจะใช้อาหารสัตว์ทั่วๆ ไป เช่นปลาป่น
งานวิจัยชี้ว่าฟาร์มผลิตไข่ไก่ช่วยผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ เพียงเปลี่ยนอาหารเลี้ยงไก่ให้เป็นอาหารจากพืช งานวิจัยฉบับหนึ่งจากมหาวิทยาลัยบริติช โคลัมเบียระบุว่า ถ้าไก่ไข่ได้กินแต่อาหารอินทรีย์ที่มาจากพืชเท่านั้น ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากฟาร์มไข่ไก่จะลดลงกว่าร้อยละ 50
การนำปลาป่นมาใช้เป็นอาหารไก่ก็เป็นเประเด็นที่สมควรพิจารณา ข้อมูลจากสหประชาชาติระบุว่า ปลาในแหล่งน้ำธรรมชาติถูกจับกว่า 15 ล้านตันเพื่อนำมาทำเป็นปลาป่น ซึ่งจำนวนมานำมาทำเป็นอาหารเลี้ยงไก่
ข้อมูลจากสหประชาชาติยังระบุอีกว่า สายพันธุ์ปลากว่าร้อย 70 ในโลกนี้ถูกจับ”เกินกำลัง” หรือถูกจับจน”เต็มกำลัง” หรือไม่ก็ “จำนวนลดลงอย่างมาก”
สัตว์น้ำบางสายพันธุ์ก็ได้สูญพันธุ์ไปแล้ว และอีกมากมายหลายสายพันธุ์ก็กำลังเผชิญชะตากรรมเดียวกัน
มหาสมุทรของเราในขณะนี้ และภัยคุกคามจากสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงเป็นประเด็นที่เราละเลยไม่ได้ ถึงเวลาแล้วที่เราจะใช้ระบบที่ยั่งยืนมากกว่านี้ และใช้อาหารสัตว์ที่ทำจากพืชเท่านั้น