top of page

งานวิจัยพบ จุดเกิดเชื้อดื้อยาทั่วทุกมุมโลก


การปศุสัตว์เป็นสาเหตุหลักอย่างหนึ่งของวิกฤตในโลกนี้ถึงสองอย่างด้วยกัน อย่างแรกคือวิกฤตที่ใครๆ ก็ต่างรู้กันดีอยู่แล้ว คือวิกฤตสภาวะภูมิอากาศ ก๊าซเรือนกระจกอย่างน้อย 14 เปอร์เซ็นต์มาจากการปศุสัตว์ ส่วนวิกฤตอย่างที่สองเพิ่งจะแสดงอาการแรกเริ่มให้เห็นตอนนี้เอง แต่ก็เริ่มรุนแรงขึ้นในอัตราที่น่าใจหาย การบริโภคเนื้อเกินความจำเป็นก่อให้เกิดอาการเชื้อโรคดื้อยาในหลายๆ จุดทั่วทุกมุมโลก

งานวิจัยฉบับหนึ่งซึ่งตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์ได้ระบุพื้นที่ที่กำลังเกิดปรากฎการณ์เชื้อโรคดื้อยาขึ้นในขณะที่คุณกำลังอ่านบทความนี้ ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย ประเทศจีนและดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแดงในประเทศเวียดนามเป็นพื้นที่หลักที่เกิดปรากฎการณ์เช่นนี้ กว่าครึ่งหนึ่งของประชากรไก่และหมูในโลกขณะนี้ ถูกเลี้ยงอยู่ในฟาร์มในประเทศอินเดียและจีน ไม่ใช่เรื่องบังเอิญเลยที่ในช่วงสองสามเดือนที่ผ่านมา มีโรคไข้หวัดหมูแอฟริกันระบาด ส่งผลให้มีหมูถูกกำจัดทิ้งหลายล้านตัวในประเทศจีนและเวียดนาม

พื้นที่อื่นๆ ที่ปรากฎการณ์เชื้อโรคดื้อยากำลังลุกลามรุนแรงอย่างรวดเร็วได้แก่เคนย่า โมร็อกโค อุรุกวัย ทางใต้ของประเทศบราซิล ตอนกลางประเทศอินเดีย และตอนใต้ของประเทศจีน

คนกว่าสิบล้านคนจะต้องตายเนื่องจากอาการดื้อยา

ยาปฏิชีวนะกว่า 75% ที่ใช้ในโลกในตอนนี้ถูกนำไปใช้กับสัตว์ในฟาร์มที่จะกลายมาเป็นอาหาร และผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่าการบริโภคยาปฏิชีวนะจะเพิ่มสูงขึ้นอีก 67% ภายในปี 2030 และจะเพิ่มเป็นเท่าตัวในบราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้

รายงานขององค์กรอาหารและการเกษตรระบุว่า “กว่า 70% ของโรคเกิดใหม่ในมนุษย์ในช่วงหลายทศวรรณที่ผ่านมา เป็นโรคที่มีต้นกำเนิกจากสัตว์ และมีส่วนเกี่ยวข้องกับการขวนขวายของมนุษย์ในหาแหล่งอาหารที่มาจากสัตว์” ภายในปี 2050 หน่วยงานด้านการจัดการเชื้อดื้อยาระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ (IACG) ประมาณ ภายในปี 2050 ว่าผู้คนกว่าสิบล้านคนจะเสียชีวิตในแต่ละปีเนื่องจากอาการดื้อยา ผู้เชี่ยวชาญกังวลว่ายาที่เรามีใช้ในปัจจุบันจะไม่สามารถต่อกรกับเชื้อดื้อยาใหม่ที่เกิดขึ้นเรื่อยๆ ได้

ภูมิภาคที่ยากจนที่สุดในโลกจะได้รับผลกระทบอย่างไร

งานวิจัยยังระบุอีกว่าพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบส่วนใหญ่เป็นประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่การผลิตผลิตภัณฑ์จากสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื้อหมูและเนื้อไก่กำลังเพิ่มสูงขึ้น เพื่อให้มีเนื้อสัตว์เพียงพอต่อความต้องการในการบริโภค การผลิตเนื้อสัตว์ในภูมิภาคเหล่านี้มีความเข้มข้นขึ้น หมายความว่าในพื้นที่เท่าเดิม สัตว์ต้องอยู่ในสภาพที่แออัดขึ้น และการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เลวร้ายเช่นนี้ก็หมายความว่าเชื้อโรคจะแพร่ได้เร็วขึ้น ทำให้การใช้ยาปฏิชีวนะเป็นเรื่องจำเป็น และสุดท้ายก็นำไปสู่การเกิดเชื้อดื้อยา

“นี่เป็นครั้งแรกที่เรามีหลักฐานมากพอที่จะพิสูจน์ได้ว่าการดื้อยา (ในอตุสาหกรรมปศุสัตว์) กำลังลุกลาม และลุกลามอย่างรวดเร็วในประเทศรายได้ต่ำถึงรายได้ปานกลาง” โธมัส ฟาน เบิคเคล นักวิจัยร่วมของงานวิจัยและนักระบาดวิทยาจากสถาบันเทคโนโลยีสวิส จากซูริคกล่าว นี่อาจนำไปสู่หายนะของสาธารณสุขโลก เนื่องจากว่าภูมิภาคเหล่านี้มีทรัพยากรน้อยกว่าในการจัดการกับการระบาดของโรค และมักจะมีสภาพทางสุขอนามัยที่ด้อยกว่า ความน่ากลัวก็คือ เชื้อโรคเหล่านี้อาจะแพร่มาสู่มนุษย์ได้

แน่นอนว่าหนทางหลักในการควบคุมการลุกลามแพร่ขยายของการดื้อยาเช่นนี้คือต้องควบคุมและจำกัดการใช้ยาในการปศุสัตว์ แต่ด้วยความต้องการเนื้อสัตว์ที่สูงขึ้นเรื่อยๆ การควบคุมและจำกัดอาจจะไม่เพียงพอ

หนทางหนึ่งที่จะการป้องกันการลุกลามดังกล่าวนี้ (และป้องกันหายนะอื่นๆ) คือการเลิกบริโภคผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ได้แก่เนื้อสัตว์ นมและไข่ นอกจากนี้คุณก็ยังช่วยพวกเราเผยแพร่ความรู้ได้โดยการมาเป็นอาสาสมัครกับซิเนอร์เจีย แอนิมอล คลิกที่นี่เลย!

bottom of page